เงานารี (พิษเสน่หา) (จบ)
พิษใดจักร้ายเท่าพิษเสน่หา ต่อให้เป็นวีรบุรุษจากแว่นแคว้นใดก็มิอาจต้านพิษชนิดนี้ได้ อย่างเช่นเขาที่ตกต้องพิษของเธอ ...เสน่หาของสตรีสีน้ำเงิน
ผู้เข้าชมรวม
1,540
ผู้เข้าชมเดือนนี้
34
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
***ติดป้ายแจ้งนักอ่านที่ยังรอเรื่องนี้นะคะ เรามีรีไรท์เรื่องนี้ และจะเพิ่มบทในส่วนที่เคยตัดไปตอนส่ง สนพ. (เมื่อหลายปีก่อน) ซึ่งเนื้อหาที่เคยตัดไปมีเกือบ 200 หน้าเลยค่ะ และเนื่องจากว่าในส่วนของจันทรารานี มีกลิ่นอายเกี่ยวกับเทพนิยาย โดยเฉพาะราชญีที่มีค่อนข้างมาก (เพราะเราจะไปบุกรัฐกูรา ที่มีรากความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า) เราเลยอาจเพิ่มเนื้อหาที่อ้างอิงกลิ่นอายเทพนิยาย(แต่ไม่มากนัก) เพื่อให้ มีความเชื่อมโยงกัน คิดว่าอย่างช้าสุดปลายปีนี้เราจะได้เจอกันค่ะ เราไม่มั่นใจว่าจะทำเล่มไหม แต่มีอีบุ๊กและขายรายตอนแน่นอนค่ะ***
ส่วนเรื่องจันทรารานี และราชญี ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จะตามมาให้อ่านด้วยเช่นกันค่ะ
ขอบคุณนักอ่านที่ยังเข้ามาคอมเมนต์ในนิยายเรื่องนี้อยู่นะคะ
อาจจะบกพร่องด้านการต้อนรับคนหน่อยนะคะ
ขออภัยหากไม่ได้ตอบคอมเมนท์ของเพื่อนนักอ่านที่หลงเข้ามา
เสน่หาของสีน้ำเงินนั้นแสนร้าย แค่เพียงแรกพบสบสายตา ก็เหมือนกับว่าได้ตกต้องพิษที่ไม่มียาแก้ และผู้ใดถูกพิษสีน้ำเงินนี้แล้ว จะเกิดอาการทุรนทุราย ปรารถนาอยากครอบครองผู้มีดวงตาดุจสีแห่งรัตติกาล
และท่ามกลางสงครามอันยาวนานที่เริ่มร้อนระอุขึ้นมา เขาต้องตามหาสายเลือดที่สูญหาย ทายาทผู้มีสิทธิ์ครอบครองบัลลังก์ของเทพเจ้า แล้วเธอก็คือสายเลือดที่ว่านั่น...สตรีที่มอบพิษร้ายให้แก่เขา
เขาต้องเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ระหว่างหน้าที่กับหัวใจ
พาเธอคืนบัลลังก์ หรือเก็บกักเธอไว้ตลอดกาล...
ผลงานอื่นๆ ของ ฌา / กันตะชา ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ฌา / กันตะชา
"บทวิจารณ์ พิษเสน่หา (เงานารี)"
(แจ้งลบ)นิยายแฟนตาซีขนาดยาว 48 ตอนจบเรื่อง พิษเสน่หา (เงานารี) ของ ฌา หรือฟัลฌา เรื่องนี้ นับเป็นนิยายเรื่องหนึ่งที่มีความซับซ้อนทั้งในแง่ของตัวเรื่องและอารมณ์ตัวละครกลุ่มหนึ่ง ที่ต่างต้องปิดบังตัวตนและฐานะที่แท้จริงเพื่อความปลอดภัยของตนและพวกพ้อง นิยายเรื่องนี้ไม่ใช่นิยายแฟนตาซีแนวโรงเรียนเวทมนตร์ หรือเรื่องราวของโลกต่างมิติที่เป็นที่นิยมมากในเว็ ... อ่านเพิ่มเติม
นิยายแฟนตาซีขนาดยาว 48 ตอนจบเรื่อง พิษเสน่หา (เงานารี) ของ ฌา หรือฟัลฌา เรื่องนี้ นับเป็นนิยายเรื่องหนึ่งที่มีความซับซ้อนทั้งในแง่ของตัวเรื่องและอารมณ์ตัวละครกลุ่มหนึ่ง ที่ต่างต้องปิดบังตัวตนและฐานะที่แท้จริงเพื่อความปลอดภัยของตนและพวกพ้อง นิยายเรื่องนี้ไม่ใช่นิยายแฟนตาซีแนวโรงเรียนเวทมนตร์ หรือเรื่องราวของโลกต่างมิติที่เป็นที่นิยมมากในเว็บไซต์เด็กดี แต่เป็นนิยายไพรัชนิยายแนวแฟนตาซี ที่กล่าวถึงดินแดนสมมุติแห่งหนึ่งชื่อปัญจปุระ ที่ประกอบด้วยแคว้นทั้ง 5 คือ ปามะห์ กูรา ทาลางกูร กรารูวา และบีอา ซึ่งแต่ละแคว้นต่างมีเจ้าหลวงปกครองอย่างเป็นอิสระ ความสงบสุขของดินแดนแห่งนี้เริ่มสูญสลายไป ตั้งแต่ครั้งเมื่อเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา ที่ฑัญญะเจ้าหลวงแห่งทาลางกูร ร่วมมือกับสิงหนาท นายพลแห่งกูรา ยึดอำนาจการปกครองกูราจากเจ้าหลวงฑิคัมพร จนก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของสายเลือดสีน้ำเงินเชื้อสายเทพแห่งกูรา ณ ปัจจุบัน เมื่อกงล้อประวัติศาสตร์เริ่มย้อนทวน นายพลสิงหนาทกลับมาหลังจากที่ถูกขับไล่ออกไปพร้อมแผนการที่จะยึดครองดินแดนแห่งนี้อีกครั้ง จะก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมกับสายเลือดสีน้ำเงินที่ยังหลงเหลืออีกหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามอ่านกันต่อไป ความซับซ้อนของเรื่อง พิษเสน่หา (เงานารี) นับเป็นจุดเด่นประการหนึ่งของเรื่อง ผู้แต่งวางโครงเรื่องมาเป็นอย่างดี เพราะมีการสอดประสานของโครงเรื่องหลัก (plot) ที่ผูกพันกับชะตากรรมของสิริกัญญา หนึ่งในสายเลือดสีน้ำเงินที่หลงเหลืออยู่ ขณะเดียวกันก็ยังสร้างโครงเรื่อย่อย (sub-plot) จำนวนมากที่ดำเนินไปพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นความลับ ความหลัง ความผูกพันและเรื่องราวของคนรุ่นเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเจ้าหลวงปัฐวิกรณ์ แห่งปามะห์ ท่านจินดา ประธานองคมนตรีแห่งปามะห์ ซึ่งเดิมเคยเป็นที่รู้จักในนาม“จิรัฐจินดา” เจ้าน่านฟ้ามืดผู้กุมศรัทธาทั้งหมดของชาวกูราไว้ และ เจ้าหลวงฑิคัมพร ผู้เป็นพี่ชายของท่านจินดา และสัญญาระหว่างท่านจินดากับแสงสุรีย์ภรรยาหลวงชาวทาลางกูรเพื่อปกป้องสายเลือดสีน้ำเงินที่หลบซ่อนอยู่ ขณะเดียวกันก็ยังมีเรื่องราวชีวิตของกลุ่มตัวละครหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ทั้งชีวิตของบรรดาลูกเมียน้อยของท่านจินดา ไม่ว่าจะเป็น แสงอรุณ รังสิมา ปลายมาศ หรือสิริกัญญา ที่ถูกกดขี่และถูกรังแกทั้งจากแสงสุรีย์ และบรรดาลูกๆของเธอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อรัญญาและวโรดม ความรักระหว่างราเชน ปาเยนทร์ (ผู้กุมอำนาจในปามะห์รองจากเจ้าหลวง) กับ สิริกัญญา หรือ บริมาส (ลูกสาวเสนาบดีมหาดไทยของปามะห์และเป็นเพื่อนสนิทของสิริกัญญา) กับ วิวัสวัต (เจ้าหลวงแห่งกูรา) และความรักต้องห้าม (incest) ระหว่างอรัญญาและวโรดม (ลูกฝาแฝดของท่านจินดา) จะเห็นได้ว่าผู้แต่งสามารถสอดร้อยโครงเรื่องหลักเข้ากับโครงเรื่องย่อยๆจำนวนมากได้อย่างแนบสนิทเป็นเนื้อเดียว ในอีกด้านหนึ่ง ความซับซ้อนของเนื้อเรื่องเช่นนี้ก็ อาจกลายเป็นจุดอ่อนของเรื่องด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้แต่งมีความปรารถนาดีกับตัวละครทุกตัวที่สร้างขึ้น โดยพยายามกระจายบทให้ตัวละครหลักจำนวนมากมีบทบาทเท่าๆกัน จึงทำให้โครงเรื่องย่อยจำนวนมากต่างได้รับมีความสำคัญเกือบเท่าเทียมกัน ผู้แต่งนำวิธีการดังกล่าวนี้มาใช้กับราเชน ปาเยนทร์ และ สิริกัญญา ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่องด้วยเช่นกัน จึงทำให้บทบาทของพระนางคู่นี้ถูกกลบไปท่ามกลางโครงเรื่องย่อยจำนวนมากนี้ ขณะเดียวกัน ในช่วงท้าย เมื่อผู้แต่งมุ่งเน้นไปยังบทบาทของท่านจินดา ในฐานะที่ท่านเป็นผู้กุมความลับอันเป็นหัวใจของเรื่องไว้ จึงส่งผลให้บทบาทของท่านจินดาได้รับการเน้นจนโดดเด่นกว่าตัวละครทุกตัวในเรื่อง จนดูประหนึ่งว่าท่านจินดากลายเป็นตัวละครเอกของเรื่องไปแล้ว นอกจากนี้ ความซับซ้อนของเรื่องยังส่งผลต่อภาพรวมของเรื่องด้วย กล่าวคือ เมื่อผู้แต่งให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดที่กล่าวถึง จนทำให้เรื่องเยิ่นเย้อ และบางตอนก็มีรายละเอียดมากจนน่าเบื่อ หรือบางเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องเดินเรื่องให้สั้น กระชับ และรวดเร็ว ก็มิอาจทำได้ ขณะเดียวกันเหตุการณ์บางตอนก็ถูกลดความน่าสนใจลง เพราะถูกกลบด้วยรายละเอียดจำนวนมากของเหตุการณ์หรือตัวละครอื่นที่ปรากฏตัวร่วมกันในฉากหรือในตอนเดียวกัน ความน่าสนใจประการที่สอง คือ ผู้แต่งใช้เรื่องราวความลับของตัวละครมาเป็นเงื่อนไขในการสร้างให้เรื่องมีความน่าตื่นเต้นและน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตามหารัชทายาทผู้มีสิทธิอันชอบธรรมในการครอบครองบัลลังก์ของกู โดยอาศัยเงื่อนไขว่าบุคคลผู้นั้นต้องเป็นเชื้อสายเทพของชาวสีน้ำเงิน ที่ต้องมีนัยน์ตาสีน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงเชื้อสายของโอรสแห่งสวรรค์ อันเป็นเหตุทำให้เรื่องราวความลับของตัวละครหลายๆตัวที่ผูกพันกับชาวสีน้ำเงินก็ค่อยๆเปิดเผยออกทีละน้อย เมื่อความลับต่างๆคลี่คลายในที่สุด ผู้แต่งกลับหักมุมในตอนจบว่า ตลอดเรื่องที่เฝ้าตามหารัชทายาทเลือดสีน้ำเงิน โดยใช้สีตาเป็นเบาะแสนั้นกลับเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ติดตามไขว้เขวและลงทาง เพราะรัชทายาทผู้ครองอำนาจแห่งราชบัลลังก์กูราที่แท้จริงกลับมิใช่ผู้ที่มีดวงตาสีน้ำเงิน แต่กลายเป็นผู้มีดวงตาสีฟ้าคราม อันเป็นสีดวงตาดั้งเดิมของชาวกูรา ซึ่งหาไม่ได้แล้วในเชื้อพระวงศ์นับตั้งแต่เชื้อสายเทพปกครองกูรา ด้วยเหตนี้ เบาะแสที่ให้ไว้ตั้งแต่ต้นไม่เพียงจะล่อหลอกให้บรรดาตัวละครไขว้เขวเท่านั้น แต่ยังชวนให้ผู้อ่านหลงทางไปกับการหลอกล่อของผู้แต่งไปพร้อมกันด้วย ผู้แต่งสร้างอาศัยเรื่องราวความลับไว้เป็นเงื่อนไขหลักในการดำเนินเรื่อง และสามารถอธิบายและคลี่คลายเงื่อนปมต่างๆที่ผูกไว้ได้เป็นอย่างดี ทว่าก็ยังมีบางเงื่อนปมที่ผู้แต่งยังไม่สามารถสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนให้แก่ผู้อ่านได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวระหว่างแสงสุรีย์กับท่านจินดา เพราะจนท้ายที่สุดแล้ว ผู้อ่านก็ยังไม่เข้าใจเหตุผลเบื้องหลังของการกระทำต่างๆที่แสดงสุรีย์ตัดสินใจ ทั้งยังไม่เข้าใจว่าสาเหตุที่เธอแค้นท่านจินดาแท้จริงแล้วนั้นเพราะเหตุใด ความน่าสนใจประการต่อไปคือ ผู้แต่งนับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเขียนทั้งบทบรรยายและบทสนทนา ซึ่งส่งผลต่อการสร้างให้เรื่องดำเนินไปอย่างลื่นไหล น่าติดตาม รวมทั้งยังสามารถสร้างตัวละครจำนวนมากให้มีสีสันและลักษณะเด่นเฉพาะตัวได้อย่างน่าสนใจไม่แพ้กัน และสิ่งที่น่าชื่นชมอีกประการหนึ่งคือ แม้ว่านิยายเรื่องนี้จะเป็นนิยายขนาดยาว แต่แทบจะไม่ปรากฏคำผิดเลย ซึ่งช่วยยืนยันให้เห็นว่าผู้แต่งให้ความสำคัญและใส่ใจเกี่ยวกับความถูกต้องของการเขียนเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่ผู้วิจารณ์เห็นว่าเป็นข้อด้อยของนิยายเรื่องนี้คือ การเปิดเรื่อง ผู้แต่งเปิดเรื่องด้วยการแนะนำรัฐทั้งห้าของปัญจปุระ ด้วยการบรรยายถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ รวมถึงอาชีพสำคัญของประชากร ราวกับเป็นตำราเรียนวิชาภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นการเปิดเรื่องที่น่าเบื่อ “แห้ง” และขาดสีสัน ผู้แต่งควรปรับการเปิดเรื่องให้น่าสนใจและ ดึงดูดใจผู้อ่านมากกว่านี้ อาจเปิดด้วยฉากสุดท้ายของโศกนาฏกรรมชาวสีน้ำเงินก็ได้ นอกจากนี้ เรื่องราวของแคว้นทั้งห้านั้น ผู้วิจารณ์เห็นว่าเรื่องราวของแคว้นกรารูวาและบีอา แทบไม่ถูกกล่าวถึง จึงเห็นว่าอาจมีคำอธิบายสั้นๆว่า สองแคว้นนั้นแทบไม่มีความสำคัญเพราะเหตุใด ซึ่งน่าจะตรงความเป็นจริง เพราะถ้ามีแต่แคว้นเอกสามแคว้นก็อาจจะไม่ค่อยสมจริงในสถานะของดินแดนใหญ่) ข้อด้อยอีกประการหนึ่ง คือ ผู้วิจารณ์เห็นว่าชื่อเรื่องยังไม่สามารถที่จะสื่อความครอบคลุมเนื้อหาของเรื่องทั้งหมดได้ แม้ว่าในคำโปรยผู้แต่งจะเน้นเรื่องราวระหว่างสิริกัญญากับราเชน ปาเยนทร์ ที่แสดงให้เห็นถึง “เสน่ห์ของสาวสีน้ำเงินที่ก่อให้ผู้ที่ต้องพิษเสน่หานั้นเกิดอาการทุรนทุราย ปรารถนาอยากครอบครองเธอ ซึ่งเขาต้องตัดสินใจเลือกระหว่างหน้าที่กับหัวใจ ว่าจะพาเธอคืนกลับบัลลังก์หรือเก็บกักเธอไว้ตลอดไป” แต่เรื่องของพิษเสน่หาที่เป็นประดุจคำสำคัญของเรื่อง กลับถูกลดบทบาทลงด้วยเรื่องราวโศกนาฏกรรมของชาวสีน้ำเงินและความลับของท่านจินดา ขณะเดียวกัน พระนางคู่นี้ที่ถูกวางตัวให้เป็นผู้นำเสนอเรื่องราวของ “พิษเสน่หา” ก็กลับถูกคู่ของท่านจินดาและแสงสุรีย์ “ขโมยซีน” ไปต่อหน้าต่อตา เพราะบทบาทของแสงสุรีย์สื่อให้เห็นภาพของเหยื่อที่หลงอยู่ในวังวนของพิษเสน่หาของชาวสีน้ำเงินได้รุนแรงและชัดเจนกว่าที่เกิดขึ้นกับราเชน ปาเยนทร์ มาก เพราะแม้ว่าเจ้าหลวงฑิคัมพรจะสวรรคตไปนานแล้ว แต่พิษเสน่หาที่แฝงอยู่ในใจเธอก็ยังไม่เสื่อมคลาย และยังคงทำให้แสงสุรีย์ทุรนทุรายด้วยเพลิงแห่งความโกรธแค้นที่มีต่อท่านจินดาผู้ทำลายความรักของเธอ จนในท้ายที่สุดการแก้แค้นของเธอก็บีบให้ท่านจินดาต้องเป็นผู้ที่ต้องเลือกระหว่างหน้าที่และหัวใจ และท่านก็เลือกหน้าที่ในฐานะจิรัฐจินดา เจ้าน่านฟ้ามืด ซึ่งต้องเป็นผู้ลงมือประหารแสงสุรีย์ ภรรยาหลวงและนางอันเป็นที่รักของเขาเอง แม้ว่าเขาจะต้องโศกเศร้าเสียใจกับการกระทำนี้เพียงใดก็ตาม ในขณะที่ปาเยนทร์ซึ่งถูกวางตัวให้เป็นผู้เลือกตั้งแต่แรก กลับไม่ต้องทำหน้าที่นั้น เพราะผู้แต่งเปิดทางอื่นให้เขาได้ครองคู่กับสิริกัญญาอย่างชอบธรรมแทน ประเด็นสุดท้ายที่จะกล่างถึงก็คือ การปิดเรื่อง ผู้วิจารณ์เห็นว่าผู้แต่งรีบปิดเรื่องเร็วเกินไป จนดูขัดกับท่วงทำนองการเขียน (style)ทั้งหมดที่ผ่านมา กล่าวคือตลอดมาผู้แต่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งอกตั้งใจที่จะบรรยายเรื่องราวและที่มาที่ไปของตัวละครทุกตัวอย่างละเอียด แต่ในช่วงประมาณ 3-5 บทสุดท้าย ดูเหมือนว่าผู้แต่งจะรีบเขียนเพื่อจบเรื่อง เพราะมีหลายประเด็นที่เป็นการรีบขมวดจบมากเกินไป จนทำให้ความสมบูรณ์ของเรื่องที่ผู้แต่งประคับประคองไว้ได้เป็นอย่างดีตั้งแต่ต้นเสียไป ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนท่าทีของแสงสุรีย์อย่างกระทันหัน และท้ายที่สุดก็ออกมาแสดงความรับผิดชอบกับผลของสงครามที่เกิดขึ้นเพียงลำพัง การพยายามจะจับคู่ให้กับตัวละครในเรื่องเกือบทุกตัวด้วยสนธิสัญญาระหว่างสามรัฐ หรือแม้กระทั่งการเปิดเผยว่าแท้ที่จริงแล้วรัชทายาทที่ทุกคนตามหาก็คือปลายมาศ จึงเห็นว่าหากผู้แต่งขยายเรื่องออกไปสัก 1-2 ตอน เพื่อให้เหตุผลที่มาที่ไปของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแสงสุรีย์ การขยายความเกี่ยวกับสัญญาระหว่างแสงสุรีย์กับท่านจินดาให้ชัดเจนขึ้น เหตุผลที่ท่านจินดายอมประกาศตัวให้ผู้นำของรัฐทั้ง 5 ทราบความลับของตนที่ปกปิดมานานกว่า 50 ปี ว่าแท้จริงแล้วตนเองเป็นใคร หรือแม้กระทั่งการเพิ่มฉากที่ปลายมาศรับรู้ความจริงว่าเขาเป็นใคร ก็จะช่วยให้เรื่องราวสมบูรณ์มาก และไม่ทำให้เกิดความกังขาในตอนจบของเรื่องดังที่เป็นอยู่ --------------------------- อ่านน้อยลง
bluewhale | 14 ก.ค. 53
10
2
"บทวิจารณ์ พิษเสน่หา (เงานารี)"
(แจ้งลบ)นิยายแฟนตาซีขนาดยาว 48 ตอนจบเรื่อง พิษเสน่หา (เงานารี) ของ ฌา หรือฟัลฌา เรื่องนี้ นับเป็นนิยายเรื่องหนึ่งที่มีความซับซ้อนทั้งในแง่ของตัวเรื่องและอารมณ์ตัวละครกลุ่มหนึ่ง ที่ต่างต้องปิดบังตัวตนและฐานะที่แท้จริงเพื่อความปลอดภัยของตนและพวกพ้อง นิยายเรื่องนี้ไม่ใช่นิยายแฟนตาซีแนวโรงเรียนเวทมนตร์ หรือเรื่องราวของโลกต่างมิติที่เป็นที่นิยมมากในเว็ ... อ่านเพิ่มเติม
นิยายแฟนตาซีขนาดยาว 48 ตอนจบเรื่อง พิษเสน่หา (เงานารี) ของ ฌา หรือฟัลฌา เรื่องนี้ นับเป็นนิยายเรื่องหนึ่งที่มีความซับซ้อนทั้งในแง่ของตัวเรื่องและอารมณ์ตัวละครกลุ่มหนึ่ง ที่ต่างต้องปิดบังตัวตนและฐานะที่แท้จริงเพื่อความปลอดภัยของตนและพวกพ้อง นิยายเรื่องนี้ไม่ใช่นิยายแฟนตาซีแนวโรงเรียนเวทมนตร์ หรือเรื่องราวของโลกต่างมิติที่เป็นที่นิยมมากในเว็บไซต์เด็กดี แต่เป็นนิยายไพรัชนิยายแนวแฟนตาซี ที่กล่าวถึงดินแดนสมมุติแห่งหนึ่งชื่อปัญจปุระ ที่ประกอบด้วยแคว้นทั้ง 5 คือ ปามะห์ กูรา ทาลางกูร กรารูวา และบีอา ซึ่งแต่ละแคว้นต่างมีเจ้าหลวงปกครองอย่างเป็นอิสระ ความสงบสุขของดินแดนแห่งนี้เริ่มสูญสลายไป ตั้งแต่ครั้งเมื่อเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา ที่ฑัญญะเจ้าหลวงแห่งทาลางกูร ร่วมมือกับสิงหนาท นายพลแห่งกูรา ยึดอำนาจการปกครองกูราจากเจ้าหลวงฑิคัมพร จนก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของสายเลือดสีน้ำเงินเชื้อสายเทพแห่งกูรา ณ ปัจจุบัน เมื่อกงล้อประวัติศาสตร์เริ่มย้อนทวน นายพลสิงหนาทกลับมาหลังจากที่ถูกขับไล่ออกไปพร้อมแผนการที่จะยึดครองดินแดนแห่งนี้อีกครั้ง จะก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมกับสายเลือดสีน้ำเงินที่ยังหลงเหลืออีกหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามอ่านกันต่อไป ความซับซ้อนของเรื่อง พิษเสน่หา (เงานารี) นับเป็นจุดเด่นประการหนึ่งของเรื่อง ผู้แต่งวางโครงเรื่องมาเป็นอย่างดี เพราะมีการสอดประสานของโครงเรื่องหลัก (plot) ที่ผูกพันกับชะตากรรมของสิริกัญญา หนึ่งในสายเลือดสีน้ำเงินที่หลงเหลืออยู่ ขณะเดียวกันก็ยังสร้างโครงเรื่อย่อย (sub-plot) จำนวนมากที่ดำเนินไปพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นความลับ ความหลัง ความผูกพันและเรื่องราวของคนรุ่นเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเจ้าหลวงปัฐวิกรณ์ แห่งปามะห์ ท่านจินดา ประธานองคมนตรีแห่งปามะห์ ซึ่งเดิมเคยเป็นที่รู้จักในนาม“จิรัฐจินดา” เจ้าน่านฟ้ามืดผู้กุมศรัทธาทั้งหมดของชาวกูราไว้ และ เจ้าหลวงฑิคัมพร ผู้เป็นพี่ชายของท่านจินดา และสัญญาระหว่างท่านจินดากับแสงสุรีย์ภรรยาหลวงชาวทาลางกูรเพื่อปกป้องสายเลือดสีน้ำเงินที่หลบซ่อนอยู่ ขณะเดียวกันก็ยังมีเรื่องราวชีวิตของกลุ่มตัวละครหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ทั้งชีวิตของบรรดาลูกเมียน้อยของท่านจินดา ไม่ว่าจะเป็น แสงอรุณ รังสิมา ปลายมาศ หรือสิริกัญญา ที่ถูกกดขี่และถูกรังแกทั้งจากแสงสุรีย์ และบรรดาลูกๆของเธอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อรัญญาและวโรดม ความรักระหว่างราเชน ปาเยนทร์ (ผู้กุมอำนาจในปามะห์รองจากเจ้าหลวง) กับ สิริกัญญา หรือ บริมาส (ลูกสาวเสนาบดีมหาดไทยของปามะห์และเป็นเพื่อนสนิทของสิริกัญญา) กับ วิวัสวัต (เจ้าหลวงแห่งกูรา) และความรักต้องห้าม (incest) ระหว่างอรัญญาและวโรดม (ลูกฝาแฝดของท่านจินดา) จะเห็นได้ว่าผู้แต่งสามารถสอดร้อยโครงเรื่องหลักเข้ากับโครงเรื่องย่อยๆจำนวนมากได้อย่างแนบสนิทเป็นเนื้อเดียว ในอีกด้านหนึ่ง ความซับซ้อนของเนื้อเรื่องเช่นนี้ก็ อาจกลายเป็นจุดอ่อนของเรื่องด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้แต่งมีความปรารถนาดีกับตัวละครทุกตัวที่สร้างขึ้น โดยพยายามกระจายบทให้ตัวละครหลักจำนวนมากมีบทบาทเท่าๆกัน จึงทำให้โครงเรื่องย่อยจำนวนมากต่างได้รับมีความสำคัญเกือบเท่าเทียมกัน ผู้แต่งนำวิธีการดังกล่าวนี้มาใช้กับราเชน ปาเยนทร์ และ สิริกัญญา ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่องด้วยเช่นกัน จึงทำให้บทบาทของพระนางคู่นี้ถูกกลบไปท่ามกลางโครงเรื่องย่อยจำนวนมากนี้ ขณะเดียวกัน ในช่วงท้าย เมื่อผู้แต่งมุ่งเน้นไปยังบทบาทของท่านจินดา ในฐานะที่ท่านเป็นผู้กุมความลับอันเป็นหัวใจของเรื่องไว้ จึงส่งผลให้บทบาทของท่านจินดาได้รับการเน้นจนโดดเด่นกว่าตัวละครทุกตัวในเรื่อง จนดูประหนึ่งว่าท่านจินดากลายเป็นตัวละครเอกของเรื่องไปแล้ว นอกจากนี้ ความซับซ้อนของเรื่องยังส่งผลต่อภาพรวมของเรื่องด้วย กล่าวคือ เมื่อผู้แต่งให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดที่กล่าวถึง จนทำให้เรื่องเยิ่นเย้อ และบางตอนก็มีรายละเอียดมากจนน่าเบื่อ หรือบางเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องเดินเรื่องให้สั้น กระชับ และรวดเร็ว ก็มิอาจทำได้ ขณะเดียวกันเหตุการณ์บางตอนก็ถูกลดความน่าสนใจลง เพราะถูกกลบด้วยรายละเอียดจำนวนมากของเหตุการณ์หรือตัวละครอื่นที่ปรากฏตัวร่วมกันในฉากหรือในตอนเดียวกัน ความน่าสนใจประการที่สอง คือ ผู้แต่งใช้เรื่องราวความลับของตัวละครมาเป็นเงื่อนไขในการสร้างให้เรื่องมีความน่าตื่นเต้นและน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตามหารัชทายาทผู้มีสิทธิอันชอบธรรมในการครอบครองบัลลังก์ของกู โดยอาศัยเงื่อนไขว่าบุคคลผู้นั้นต้องเป็นเชื้อสายเทพของชาวสีน้ำเงิน ที่ต้องมีนัยน์ตาสีน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงเชื้อสายของโอรสแห่งสวรรค์ อันเป็นเหตุทำให้เรื่องราวความลับของตัวละครหลายๆตัวที่ผูกพันกับชาวสีน้ำเงินก็ค่อยๆเปิดเผยออกทีละน้อย เมื่อความลับต่างๆคลี่คลายในที่สุด ผู้แต่งกลับหักมุมในตอนจบว่า ตลอดเรื่องที่เฝ้าตามหารัชทายาทเลือดสีน้ำเงิน โดยใช้สีตาเป็นเบาะแสนั้นกลับเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ติดตามไขว้เขวและลงทาง เพราะรัชทายาทผู้ครองอำนาจแห่งราชบัลลังก์กูราที่แท้จริงกลับมิใช่ผู้ที่มีดวงตาสีน้ำเงิน แต่กลายเป็นผู้มีดวงตาสีฟ้าคราม อันเป็นสีดวงตาดั้งเดิมของชาวกูรา ซึ่งหาไม่ได้แล้วในเชื้อพระวงศ์นับตั้งแต่เชื้อสายเทพปกครองกูรา ด้วยเหตนี้ เบาะแสที่ให้ไว้ตั้งแต่ต้นไม่เพียงจะล่อหลอกให้บรรดาตัวละครไขว้เขวเท่านั้น แต่ยังชวนให้ผู้อ่านหลงทางไปกับการหลอกล่อของผู้แต่งไปพร้อมกันด้วย ผู้แต่งสร้างอาศัยเรื่องราวความลับไว้เป็นเงื่อนไขหลักในการดำเนินเรื่อง และสามารถอธิบายและคลี่คลายเงื่อนปมต่างๆที่ผูกไว้ได้เป็นอย่างดี ทว่าก็ยังมีบางเงื่อนปมที่ผู้แต่งยังไม่สามารถสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนให้แก่ผู้อ่านได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวระหว่างแสงสุรีย์กับท่านจินดา เพราะจนท้ายที่สุดแล้ว ผู้อ่านก็ยังไม่เข้าใจเหตุผลเบื้องหลังของการกระทำต่างๆที่แสดงสุรีย์ตัดสินใจ ทั้งยังไม่เข้าใจว่าสาเหตุที่เธอแค้นท่านจินดาแท้จริงแล้วนั้นเพราะเหตุใด ความน่าสนใจประการต่อไปคือ ผู้แต่งนับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเขียนทั้งบทบรรยายและบทสนทนา ซึ่งส่งผลต่อการสร้างให้เรื่องดำเนินไปอย่างลื่นไหล น่าติดตาม รวมทั้งยังสามารถสร้างตัวละครจำนวนมากให้มีสีสันและลักษณะเด่นเฉพาะตัวได้อย่างน่าสนใจไม่แพ้กัน และสิ่งที่น่าชื่นชมอีกประการหนึ่งคือ แม้ว่านิยายเรื่องนี้จะเป็นนิยายขนาดยาว แต่แทบจะไม่ปรากฏคำผิดเลย ซึ่งช่วยยืนยันให้เห็นว่าผู้แต่งให้ความสำคัญและใส่ใจเกี่ยวกับความถูกต้องของการเขียนเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่ผู้วิจารณ์เห็นว่าเป็นข้อด้อยของนิยายเรื่องนี้คือ การเปิดเรื่อง ผู้แต่งเปิดเรื่องด้วยการแนะนำรัฐทั้งห้าของปัญจปุระ ด้วยการบรรยายถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ รวมถึงอาชีพสำคัญของประชากร ราวกับเป็นตำราเรียนวิชาภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นการเปิดเรื่องที่น่าเบื่อ “แห้ง” และขาดสีสัน ผู้แต่งควรปรับการเปิดเรื่องให้น่าสนใจและ ดึงดูดใจผู้อ่านมากกว่านี้ อาจเปิดด้วยฉากสุดท้ายของโศกนาฏกรรมชาวสีน้ำเงินก็ได้ นอกจากนี้ เรื่องราวของแคว้นทั้งห้านั้น ผู้วิจารณ์เห็นว่าเรื่องราวของแคว้นกรารูวาและบีอา แทบไม่ถูกกล่าวถึง จึงเห็นว่าอาจมีคำอธิบายสั้นๆว่า สองแคว้นนั้นแทบไม่มีความสำคัญเพราะเหตุใด ซึ่งน่าจะตรงความเป็นจริง เพราะถ้ามีแต่แคว้นเอกสามแคว้นก็อาจจะไม่ค่อยสมจริงในสถานะของดินแดนใหญ่) ข้อด้อยอีกประการหนึ่ง คือ ผู้วิจารณ์เห็นว่าชื่อเรื่องยังไม่สามารถที่จะสื่อความครอบคลุมเนื้อหาของเรื่องทั้งหมดได้ แม้ว่าในคำโปรยผู้แต่งจะเน้นเรื่องราวระหว่างสิริกัญญากับราเชน ปาเยนทร์ ที่แสดงให้เห็นถึง “เสน่ห์ของสาวสีน้ำเงินที่ก่อให้ผู้ที่ต้องพิษเสน่หานั้นเกิดอาการทุรนทุราย ปรารถนาอยากครอบครองเธอ ซึ่งเขาต้องตัดสินใจเลือกระหว่างหน้าที่กับหัวใจ ว่าจะพาเธอคืนกลับบัลลังก์หรือเก็บกักเธอไว้ตลอดไป” แต่เรื่องของพิษเสน่หาที่เป็นประดุจคำสำคัญของเรื่อง กลับถูกลดบทบาทลงด้วยเรื่องราวโศกนาฏกรรมของชาวสีน้ำเงินและความลับของท่านจินดา ขณะเดียวกัน พระนางคู่นี้ที่ถูกวางตัวให้เป็นผู้นำเสนอเรื่องราวของ “พิษเสน่หา” ก็กลับถูกคู่ของท่านจินดาและแสงสุรีย์ “ขโมยซีน” ไปต่อหน้าต่อตา เพราะบทบาทของแสงสุรีย์สื่อให้เห็นภาพของเหยื่อที่หลงอยู่ในวังวนของพิษเสน่หาของชาวสีน้ำเงินได้รุนแรงและชัดเจนกว่าที่เกิดขึ้นกับราเชน ปาเยนทร์ มาก เพราะแม้ว่าเจ้าหลวงฑิคัมพรจะสวรรคตไปนานแล้ว แต่พิษเสน่หาที่แฝงอยู่ในใจเธอก็ยังไม่เสื่อมคลาย และยังคงทำให้แสงสุรีย์ทุรนทุรายด้วยเพลิงแห่งความโกรธแค้นที่มีต่อท่านจินดาผู้ทำลายความรักของเธอ จนในท้ายที่สุดการแก้แค้นของเธอก็บีบให้ท่านจินดาต้องเป็นผู้ที่ต้องเลือกระหว่างหน้าที่และหัวใจ และท่านก็เลือกหน้าที่ในฐานะจิรัฐจินดา เจ้าน่านฟ้ามืด ซึ่งต้องเป็นผู้ลงมือประหารแสงสุรีย์ ภรรยาหลวงและนางอันเป็นที่รักของเขาเอง แม้ว่าเขาจะต้องโศกเศร้าเสียใจกับการกระทำนี้เพียงใดก็ตาม ในขณะที่ปาเยนทร์ซึ่งถูกวางตัวให้เป็นผู้เลือกตั้งแต่แรก กลับไม่ต้องทำหน้าที่นั้น เพราะผู้แต่งเปิดทางอื่นให้เขาได้ครองคู่กับสิริกัญญาอย่างชอบธรรมแทน ประเด็นสุดท้ายที่จะกล่างถึงก็คือ การปิดเรื่อง ผู้วิจารณ์เห็นว่าผู้แต่งรีบปิดเรื่องเร็วเกินไป จนดูขัดกับท่วงทำนองการเขียน (style)ทั้งหมดที่ผ่านมา กล่าวคือตลอดมาผู้แต่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งอกตั้งใจที่จะบรรยายเรื่องราวและที่มาที่ไปของตัวละครทุกตัวอย่างละเอียด แต่ในช่วงประมาณ 3-5 บทสุดท้าย ดูเหมือนว่าผู้แต่งจะรีบเขียนเพื่อจบเรื่อง เพราะมีหลายประเด็นที่เป็นการรีบขมวดจบมากเกินไป จนทำให้ความสมบูรณ์ของเรื่องที่ผู้แต่งประคับประคองไว้ได้เป็นอย่างดีตั้งแต่ต้นเสียไป ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนท่าทีของแสงสุรีย์อย่างกระทันหัน และท้ายที่สุดก็ออกมาแสดงความรับผิดชอบกับผลของสงครามที่เกิดขึ้นเพียงลำพัง การพยายามจะจับคู่ให้กับตัวละครในเรื่องเกือบทุกตัวด้วยสนธิสัญญาระหว่างสามรัฐ หรือแม้กระทั่งการเปิดเผยว่าแท้ที่จริงแล้วรัชทายาทที่ทุกคนตามหาก็คือปลายมาศ จึงเห็นว่าหากผู้แต่งขยายเรื่องออกไปสัก 1-2 ตอน เพื่อให้เหตุผลที่มาที่ไปของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแสงสุรีย์ การขยายความเกี่ยวกับสัญญาระหว่างแสงสุรีย์กับท่านจินดาให้ชัดเจนขึ้น เหตุผลที่ท่านจินดายอมประกาศตัวให้ผู้นำของรัฐทั้ง 5 ทราบความลับของตนที่ปกปิดมานานกว่า 50 ปี ว่าแท้จริงแล้วตนเองเป็นใคร หรือแม้กระทั่งการเพิ่มฉากที่ปลายมาศรับรู้ความจริงว่าเขาเป็นใคร ก็จะช่วยให้เรื่องราวสมบูรณ์มาก และไม่ทำให้เกิดความกังขาในตอนจบของเรื่องดังที่เป็นอยู่ --------------------------- อ่านน้อยลง
bluewhale | 14 ก.ค. 53
10
2
ความคิดเห็น